read more

สถาปัตยกรรมสองสันฐาน : สถานีพระราชวังและการอนุรักษ์ทางโบราณคดีใต้มิวเซียมสยาม
อภิชญา วงศ์ณิชชากุล
สาขาวิชา : สถาปัตยกรรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                ภายใต้กระบวนการของการถูกออกแบบให้มีรูปแบบมาตรฐานเพื่อง่ายต่อการผลิตซ้ำ รูปแบบสถาปัตยกรรมบางประเภทจึงมีลักษณะที่ขึ้นกับรูปแบบที่ตายตัว เพื่อนำไปใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน ทำให้สถาปัตยกรรมในรูปแบบดังกล่าวอาจมีรูปแบบของการทำงานไม่มากก็น้อย ที่ไม่สอดคล้องกับบริบท ณ ที่ที่มันถูกกำหนดให้ไปตั้งอยู่ ดังมีตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ชัดเจนได้แก่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จากประเด็นดังกล่าวข้างต้น การที่จะสร้างความเป็นไปได้ให้กับการออกแบบสำหรับสถาปัตยกรรมเหล่านั้นเพื่อทำให้เกิดการทำงานร่วมกันขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างเกณฑ์ต่างๆที่มีอยู่ในบริบทที่สถาปัตยกรรมไปตั้งอยู่ อันมีบทบาทที่จะช่วยส่งเสริมและสร้างคุณค่า ในแง่ลักษณะของโครงสร้างการทำงาน การออกแบบผสานระบบการก่อสร้าง ข้อจำกัดทั้งของพื้นที่และข้อจำกัดทางสถาปัตยกรรม อย่างพื้นที่บริเวณมิวเซียมสยามได้อย่างไร
วิทยานิพนธ์จึงเป็นการนำเสนอแนวทางการออกแบบทดลองบนข้อแม้ที่สัมพันธ์กับความละเอียดอ่อนของพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และความต่อเนื่องกับการใช้งานของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่รองรับการเปลี่ยนถ่ายคนสู่เมือง  ซึ่งวิทยานิพนธ์อาศัยการทดลองด้วย วิธีการผนวกเอาบริบททางสถาปัตยกรรมทีมีความสำคัญแต่ยังถูกละเลยหรือเพิกเฉยอันเนื่องมากจากความซับซ้อนและความยุ่งยากในการก่อสร้าง เช่นการศึกษารูปแบบใช้งานของโบราณสถานในอดีต ความซับซ้อนระหว่างระบบการก่อสร้าง ข้อจำกัดของการใช้งานพื้นที่มิวเซียมสยาม เพื่อนำเสนอถึงความเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีเอกลักษณ์ในการส่งเสริมพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และบริบทโดยรอบ ปัจจัยดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความเฉพาะในพื้นที่ที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่มีความสัมพันธ์กับโบราณสถานโดยตรง ส่วนเชื่อมต่อรถไฟฟ้า และส่วนกลาง ที่เชื่อมการใช้งานและส่วนของรักษาสภาพของโบราณสถานเพื่อการถ่ายทอดเรื่องราวของพื้นที่ไปยังส่วนต่างๆของโครงการ ประสบการณ์ของผู้ใช้งานในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันตามตำแหน่งของผู้ใช้งานมีปฎิสัมพันธ์กับอาคาร และสามารถรับรู้ถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ถึงแม้จะไม่ได้เข้าไปในพื้นที่โบราณสถานโดยตรง ปัจจัยเหล่านี้เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สร้างประสบการณ์การเดินทางจากภายในสถานีสู่เกาะรัตนโกสินทร์


Architecture on duplexity : Customization/Prototype
Aphitchaya Wongnitchakul
Bachelor of Architecture
Faculty of Architecture ,Kasetsart University

           Some architecture, especially, on common building typology is always treated as typical prototype and has always been repeatedly applied into different site under different context. The obvious is the metro station. What if the architecture has been designed under the condition on surrounding concern and the limitation of architecture?
          Thesis will propose a concern on the duplexity of context that sits in- between the delicacy of preservative historical area and the massive construction of metro station. It will be an experiment on how to integrate criteria in architecture that are very crucial but being neglected and to be equipped with customization method. The case in point are raising the conditions in archaeological site and the complexity between construction methods which present to the metro station and finding the appropriateness of such construction for the historical site. The customization method is divided into three parts which are the exhibition space, the station area and the common space. The proposal will expose the history of the area that people could recognize its historical space in every parts of the site and also could experience them along their movement from the station in order to turn it into the gateway of Rattanakosin Island

Email : minimenn.18@gmail.com
Tel : 084-640-7445