URBAN INDUSTRIAL AREA REJUVENATION: BANGKOK FISH MARKET AND BANGKOK DOCK
Radakarn Tangmahattanakul
Faculty of Architecture
Kasetsart University
The change of land use within the city is a common phenomenon in a big metropolis such as Bangkok. This phenomenon has widely affected every area, especially those that were previously designated as heavy industrial zones. The relocation of such industries has left the area with many abandoned buildings that must be properly managed and taken into consideration in response to developments in the area, policies and concerns regarding their existing architectural, engineering and landscape contexts. For example, considering the use of a non-foundational structure, such as a prefabricated structure, or giving due attention to the existing context is therefore utilized here as the primary design method. Studies of the possibilities for the existing architecture within an industrial area have to be appropriate for the changing situation of the city and its present urban condition.
โครงการฟื้นฟูสภาพพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเมือง กรณีศึกษา สะพานปลากรุงเทพและบริษัทอู่กรุงเทพ
นางสาวรดาการ ตั้งมหัทธนะกุล
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงการใช้งานของพื้นที่ต่างๆ ภายในเขตเมืองเป็นปรากฏการณ์ปกติที่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ อย่างกรุงเทพมหานคร ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีผลต่อพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณเดิมเป็นเขตอุตสาหกรรมหนักในเมือง การเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการทำให้ต้องย้ายรากฐานของกิจการให้เหลือไว้เพียงแต่พื้นที่อุตสาหกรรมที่ว่างเปล่า แต่ก็ยังคงเหลือไว้ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่จะต้องคำนึงถึงการจัดการโครงสร้างเหล่านี้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการจัดการโครงการ การออกแบบสถาปัตยกรรมที่คำนึงถึงโครงสร้างพื้นฐานเดิมภายใต้คุณลักษณะสำคัญของพื้นที่อุตสาหกรรมทั้งในแง่สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และภูมิสถาปัตยกรรมที่มีอยู่ในโครงการ ดังนั้นการศึกษาช่องว่างทางสถาปัตยกรรมที่จะเข้าไปมีบทบาทในพื้นที่อุตสาหกรรมเดิม ต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนไปของเมือง จึงเป็นการเติมเต็มที่ว่างนี้เพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ