STITCHING FAMILY RELATIONSHIP: PARTICIPATORY JEWELRY
AS A REMINDER OF FAMILY VALUE


I-RIN HARIRAKSAOWANI
DEPARTMENT OF JEWELRY DESIGN, FACULTY OF DECORATIVE ARTS 
SILPAKORN UNIVERSITY

The changing of the family form is an issue that intereststhis designer and specifically how, nowadays, we no longer live in large family units as we once did before. In accordance with this issue, the ‘Stitching Family Relationships’ project creates a new capacity within jewelry through the use of the designer’s family as a case study, drawing upon details such as her own family photos and cross-stitch works within the design in order to demonstrate that jewelry is not only a form of decoration but also something that can store family memories.

E. irinmae@gmail.com
T. 082 212 2293

ปักด้ายสายสัมพันธ์: เครื่องประดับกับการมีส่วนร่วมในคุณค่าของสัมพันธภาพครอบครัว

ไอริณ หริรักษ์เสาวณีย์
ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ 
มหาวิทยาลัยศิลปากร

โครงการศิลปนิพนธ์นี้ ให้ความสำคัญต่อสัมพันธภาพครอบครัวไทย ที่แต่เดิมอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ หากแต่การเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ในปัจจุบันส่งผลให้การดำเนินชีวิตของครอบครัวไทยเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยว สมาชิกแต่ละคนจึงไม่มีความใกล้ชิดกันเหมือนแต่ก่อน ส่งผลให้สายสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครอบครัวลดน้อยลง สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานแรกที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาและอยู่ร่วมกันของสังคมมนุษย์ โครงการศิลปนิพนธ์นี้จึงยกกรณีศึกษาจากครอบครัวข้าพเจ้า โดยการนำกิจกรรมประจำครอบครัวคือ งานปักครอสติช มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับ โครงการออกแบบนี้ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมการประกอบสร้างเครื่องประดับทั้งทางด้านความทรงจำ จินตนาการและกระบวนการสร้างชิ้นงานเครื่องประดับระหว่างสมาชิกในครอบครัว เพื่อสื่อสารให้สมาชิกในครอบครัวได้ระลึกถึงความทรงจำครั้งที่อยู่ร่วม-กัน เครื่องประดับในโครงการนี้ทำหน้าที่ไม่ใช่เพียงสวมใส่เพื่อความสวยงามเท่านั้นแต่ยังสามารถเป็นส่วนสำคัญในการสร้างปฏิสัมพันธ์หรือการส่งมอบความรู้สึกที่ดีต่อกันในครอบครัวได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้วเครื่องประดับนี้ยังเป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงความทรงจำครั้งที่เคยอยู่ร่วมกัน และส่งต่อความทรงจำเหล่านั้นสู่สมาชิกรุ่นต่อไป อีกทั้งเพื่อกระตุ้นเตือนให้สมาชิกในครอบครัวได้กลับมามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันอีกในอนาคต