เครื่องประดับกับการสร้างประสบการณ์เชิงบวกด้านความเท่าเทียมทางเพศในวัยเด็ก
นางสาวเกวลิน เครือวงษ์
สาขาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปัจจุบันความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศฝังรากลึกอยู่ในทุกมิติของสังคมไทย บทบาทความเป็นหญิงชายถูกหล่อหลอมตามลักษณะทางสังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ครอบครัว เศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา การเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศทำได้ยาก ส่วนใหญ่ยึดโยงกับความแตกต่างทางสรีระที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างทางสถานภาพ ซึ่งขัดจากแนวคิดความเสมอภาคของหญิงและชาย คือความเท่าเทียมในสิทธิ หน้าที่ และโอกาสทางสังคม จึงต้องมีการปรับกระบวนความคิดและแนวทางปฏิบัติ โดยเริ่มตั้งแต่การปรับเปลี่ยนค่านิยมในการเลี้ยงดูเด็ก เริ่มต้นที่สถาบันครอบครัวเพื่อปลูกฝังความเท่าเทียมกันให้กับเด็ก คือมีอิสระในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพในทุกด้าน
จากประเด็นปัญหาดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้าเห็นความสำคัญของการสร้างโอกาสให้กับเด็กในการเรียนรู้อย่างอิสระและพัฒนาศักยภาพอย่างเท่าเทียมโดยไม่ยึดติดกับเพศสภาพ ด้วยการสร้างประสบการณ์เชิงบวกต่อการรับรู้ของเด็กที่ไม่ปิดกั้นความอิสระในการเรียนรู้ด้วยเพศและการเลือกปฏิบัติของผู้ใหญ่ โดยจัดการกับปัญหาผ่านบทบาทเครื่องประดับที่สังคมติดภาพลักษณ์ความเป็นเพศหญิงด้วยชุดเครื่องประดับของเล่นในรูปแบบที่สามารถสวมใส่ได้ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย

Jewelry design for creating positive experience of gender equality in early childhood
Miss Kewalin Cruawong
Department of Jewelry Design, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University.

Gender inequality is rooted in every aspect of Thai society today. Gender roles are shaped by social and cultural dimensions, values, family, economy, politics, and religions. On the other hand, changing perspectives of gender equality is very difficult as the majority of people stick to physical difference, which is considered an indicator of gender differences and roles in society. These go against the notion of gender equality. For this reason, changes in societal attitudes towards parenting should be put forward to develop gender equality in children. The process should be started within a family by teaching children to be able to learn and develop skills in all aspects without preconception of gender roles.
Consequently, this highly problematic issue inspires me to give special significance to the process of letting children learn gender through positive experience, without discrimination from the adult. This is to be the starting point in placing new values on children through toys and jewelry, particularly by destroying gender-typed toys existing in society, and combining various toys to create unisex jewelries.

tgno_arg@hotmail.com  (+66) 854758485