read more

BALUNCH: PRODUCT AND SERVICE SYSTEM FOR HEALTHY EATING HABITS

SOPISTHA THUNPRATEEP
DEPARTMENT OF INDUSTRIAL DESIGN, FACULTY OF ARCHITECTURE
CHULALONGKORN UNIVERSITY

Working metropolitans seem nowadays to always be living in a rush and, most of the time, have to rely upon the low nutritional value of street foods for sustenance. With their attitude towards healthy foods being limited, this has caused people to get sick from the effects of nutritional imbalances. Balunch is a system that will help to promote the realization of health and facilitate a change in eating habits through the delivery of healthy lunch boxes in which the foods have been selected by nutritionists from familiar restaurants. Facilitating a learning experience known as ‘learning by eating,’ the use of labels, packaging and placemat work together to spread nutritional knowledge. Furthermore, users can also practice and develop their skills through the function of peer pressure by means of ‘missions’ that they play together in order to help change mutual habits gradually, all of which leads to the greater ability of users to adapt their eating habits to the daily context more sustainably.

E. sopistha.thun@gmail.com
T. 086 392 2565

โครงการออกแบบระบบผลิตภัณฑ์และการบริการ เพื่อเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนวัยทํางาน

โศภิษฐา ธัญประทีป
ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในปัจจุบันคนเมืองวัยทํางานมีชีวิตที่รีบเร่ง จำเป็นต้องพึ่งพาอาหารนอกบ้านที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ รวมทั้งมีทัศนคติต่ออาหารเพื่อสุขภาพที่มีอยู่อย่างจํากัด ส่งผลให้เกิดโรคจากความไม่สมดุลทางสารอาหารและพลังงานอย่างต่อเนื่อง balunch ระบบที่ช่วยสร้างความตระหนักในสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ด้วยบริการจัดส่งอาหารมื้อกลางวันที่คัดเลือกโดยโภชนากร จากร้านอาหารที่เราคุ้นเคย เพื่อสร้างประสบการณ์เรียนรู้โภชนาการขณะรับประทานอาหาร (learning by eating) ผ่านฉลากอาหาร บรรจุภัณฑ์ และแผ่นรองจานที่ใช้งานร่วมกัน รวมทั้งฝึกฝนและพัฒนาทักษะโดยมีแรงกระตุ้นจากกลุ่มเพื่อน (Peer Pressure) ผ่านการทํากิจกรรมร่วมกัน เอื้อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกัน อย่างค่อยเป็นค่อยไปจนเกิดความเคยชิน ทําให้สามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเลือกรับประทานอาหารในบริบทอื่นในชีวิตประจําวันได้อย่างยั่งยืน